ខ្មែរប្រើថៃខ្ចី-เขมรใช้ไทยยืม
เมื่อช่วงวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา มีโอกาสอ่านหนังสือ "เขมรใช้ ไทยยืม" ผลงานของ อ.ศานติ ภักดีคำ ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยคำยืมภาษาเขมรในภาษาไทย และได้รับความรู้ใหม่ๆ มากมาย จึงขออนุญาตคัดลอกเนื้อหาบางส่วนมาเล่าสู่กันฟังดังนี้
"จังหวัด" เป็นคำภาษาเขมรที่ไทยยืมมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ ในภาษาไทยที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จังหวัด มีความหมายว่า บริเวณ หรือ เขต
แต่ในภาษาไทยปัจจุบัน จังหวัด หมายถึง หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหลายอำเภอ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุด
คำว่า จังหวัด ที่ใช้ในภาษาไทยดังกล่าวมานี้เป็นคำยืมมาจากภาษาเขมรโบราณว่า จงฺวต หรือ จงฺวาต เป็นคำนาม หมายถึง การล้อมรอบ, วง, ขอบเขต, เขตแดน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า คำว่า จังหวัด ในภาษาไทยที่ใช้ในเอกสารโบราณมีความใกล้เคียงกับภาษาเขมรโบราณมาก แต่ต่อมาเมื่อมีการนำมาใช้ในสมัยหลังได้เปลี่ยนความหมายไป หมายถึง หน่วยการปกครอง "จังหวัด" เท่านั้น
"จำเลย" เป็นอีกคำหนึ่งที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากในภาษาไทยมีการใช้ในความหมายที่ต่างกัน ความหมายแรกน่าจะเป็นความหมายโบราณ หมายถึง เฉลย, การตอบ ซึ่งเป็นคำยืมภาษาเขมรจากคำว่า จมฺเลย ออกเสียงว่า จ็อมเลย แปลว่า คำตอบ
สำหรับความหมายที่สองของคำว่า จำเลย เป็นคำที่ใช้ในภาษากฎหมาย หมายถึง ผู้ถูกฟ้องความในศาล เป็นความหมายที่กลายมาจากคำยืมภาษาเขมร คือคำว่า จมฺเลย ที่แปลว่า คำตอบ เช่นเดียวกัน แต่นำมาใช้ในความหมายว่า ผู้ตอบ (คำถาม) นั่นเอง
"ชนะ" เป็นคำยืมภาษาเขมรอีกคำหนึ่งที่เราใช้กันจนคิดว่าเป็นคำภาษาไทยแท้ ทั้งนี้ เนื่องจากในสมัยโบราณ คำว่า แพ้ ในภาษาไทยหมายถึง ชนะ ส่วนคำว่า พ่าย จึงหมายถึง แพ้
ต่อมาเมื่อภาษาไทยรับเอาคำว่า ชนะ เข้ามาใช้ ความหมายของคำว่า แพ้ ที่เคยหมายถึง ชนะ จึงกลายเป็นความหมายว่า แพ้
คำว่า ชนะ เป็นคำที่ภาษาไทยน่าจะรับมาจากภาษาเขมรโบราณ เนื่องจากในภาษาเขมรโบราณมีรูปเขียนเหมือนภาษาไทยปัจจุบันคือ ชฺนะ หากแต่ภาษาเขมรปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบการสะกดเป็น ฌฺนะ หมายถึง ชนะ
ดังนั้น จึงเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า คำนี้เป็นคำที่ภาษาไทยยืมมาใช้จากรูปเขียนของภาษาเขมรโบราณ
"เชลย" เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่ถูกข้าศึกจับตัวได้ คำนี้เป็นคำยืมภาษาเขมรจากคำว่า เฌฺลีย ออกเสียงว่า เฌฺลย ในภาษาเขมรมี 2 ความหมาย
ความหมายแรกเป็นความหมายเดียวกับที่ใช้ในภาษาไทย เป็นคำนาม แปลว่า เชลย, ผู้ที่ถูกจับได้ในการรบ, สัตว์ที่ต่อมา ส่วนความหมายที่สองหมายถึง ป่าเถื่อน, ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง
"วังเวง" ที่ใช้ในภาษาไทยหมายถึง ลักษณะทางอารมณ์อย่างหนึ่งในขณะที่อยู่ท่ามกลางความสงบหรือเปล่าเปลี่ยวใจ
คำนี้เป็นคำยืมจากภาษาเขมรว่า วงฺเวง ออกเสียงว่า ว็วงเวง เป็นคำกริยาแปลว่า หลง, หลงทาง
"จังหวัด" เป็นคำภาษาเขมรที่ไทยยืมมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ ในภาษาไทยที่ใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จังหวัด มีความหมายว่า บริเวณ หรือ เขต
แต่ในภาษาไทยปัจจุบัน จังหวัด หมายถึง หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหลายอำเภอ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารสูงสุด
คำว่า จังหวัด ที่ใช้ในภาษาไทยดังกล่าวมานี้เป็นคำยืมมาจากภาษาเขมรโบราณว่า จงฺวต หรือ จงฺวาต เป็นคำนาม หมายถึง การล้อมรอบ, วง, ขอบเขต, เขตแดน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า คำว่า จังหวัด ในภาษาไทยที่ใช้ในเอกสารโบราณมีความใกล้เคียงกับภาษาเขมรโบราณมาก แต่ต่อมาเมื่อมีการนำมาใช้ในสมัยหลังได้เปลี่ยนความหมายไป หมายถึง หน่วยการปกครอง "จังหวัด" เท่านั้น
"จำเลย" เป็นอีกคำหนึ่งที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากในภาษาไทยมีการใช้ในความหมายที่ต่างกัน ความหมายแรกน่าจะเป็นความหมายโบราณ หมายถึง เฉลย, การตอบ ซึ่งเป็นคำยืมภาษาเขมรจากคำว่า จมฺเลย ออกเสียงว่า จ็อมเลย แปลว่า คำตอบ
สำหรับความหมายที่สองของคำว่า จำเลย เป็นคำที่ใช้ในภาษากฎหมาย หมายถึง ผู้ถูกฟ้องความในศาล เป็นความหมายที่กลายมาจากคำยืมภาษาเขมร คือคำว่า จมฺเลย ที่แปลว่า คำตอบ เช่นเดียวกัน แต่นำมาใช้ในความหมายว่า ผู้ตอบ (คำถาม) นั่นเอง
"ชนะ" เป็นคำยืมภาษาเขมรอีกคำหนึ่งที่เราใช้กันจนคิดว่าเป็นคำภาษาไทยแท้ ทั้งนี้ เนื่องจากในสมัยโบราณ คำว่า แพ้ ในภาษาไทยหมายถึง ชนะ ส่วนคำว่า พ่าย จึงหมายถึง แพ้
ต่อมาเมื่อภาษาไทยรับเอาคำว่า ชนะ เข้ามาใช้ ความหมายของคำว่า แพ้ ที่เคยหมายถึง ชนะ จึงกลายเป็นความหมายว่า แพ้
คำว่า ชนะ เป็นคำที่ภาษาไทยน่าจะรับมาจากภาษาเขมรโบราณ เนื่องจากในภาษาเขมรโบราณมีรูปเขียนเหมือนภาษาไทยปัจจุบันคือ ชฺนะ หากแต่ภาษาเขมรปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบการสะกดเป็น ฌฺนะ หมายถึง ชนะ
ดังนั้น จึงเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า คำนี้เป็นคำที่ภาษาไทยยืมมาใช้จากรูปเขียนของภาษาเขมรโบราณ
"เชลย" เป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่ถูกข้าศึกจับตัวได้ คำนี้เป็นคำยืมภาษาเขมรจากคำว่า เฌฺลีย ออกเสียงว่า เฌฺลย ในภาษาเขมรมี 2 ความหมาย
ความหมายแรกเป็นความหมายเดียวกับที่ใช้ในภาษาไทย เป็นคำนาม แปลว่า เชลย, ผู้ที่ถูกจับได้ในการรบ, สัตว์ที่ต่อมา ส่วนความหมายที่สองหมายถึง ป่าเถื่อน, ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง
"วังเวง" ที่ใช้ในภาษาไทยหมายถึง ลักษณะทางอารมณ์อย่างหนึ่งในขณะที่อยู่ท่ามกลางความสงบหรือเปล่าเปลี่ยวใจ
คำนี้เป็นคำยืมจากภาษาเขมรว่า วงฺเวง ออกเสียงว่า ว็วงเวง เป็นคำกริยาแปลว่า หลง, หลงทาง
ที่มา นหังสือ เขมรใช้ไทยยืม ของ อ.ศานติ ภักดีคำ